62 สถาบันทั่วไทยร่วมบู๊ฟุตบอลยูลีก กระตุ้นท่องเที่ยว ไม่เสี่ยงโควิด
ศ.ดร.สัมพันธ์ ฤทธิเดช เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานในการแถลงข่าวการแข่งขันกีฬาฟุตบอลยูนิเวอร์ซิตี้ลีก ครั้งที่ 1 ที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สป.อว.) เมื่อวันที่ 15 มีนาคม
ศ.ดร.สัมพันธ์กล่าวว่า หลังจากที่การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยลดลงแล้ว และอยู่ในสถานการณ์ที่ดีขึ้น จึงได้นำกีฬาที่ถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาสังคม มาจัดแข่งขันให้เกิดความร่วมมือร่วมใจ และมีกิจกรรมให้ชาวอุดมศึกษา สามารถกำหนดสถานที่และควบคุมการจัดการให้เป็นไปตามมาตรการที่รัฐบาลกำหนดได้ ผู้ชมหรือผู้ติดตามการแข่งขันที่มีเป็นจำนวนมากนั้นสามารถรับชมผ่านการถ่ายทอดสด และสื่อออนไลน์ได้ นับว่าเป็นมิติใหม่ของการมีส่วนร่วมทางการกีฬาในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 โดยมีมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาทั้งในสังกัดและกำกับของ สป.อว. สมัครจำนวน 62 สถาบัน และมีสถาบันอุดมศึกษาจากสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สมัครเข้าร่วมแข่งขันอย่างละ 1 สถาบัน รวม 64 สถาบัน แบ่งออกเป็นมหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร 16 สถาบัน, ภาคเหนือ 13 สถาบัน, ภาคกลาง 10 สถาบัน, เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 สถาบัน, เขตภาคใต้ 9 สถาบัน โดยจะมีเพียง 24 ทีมที่จะผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ ซึ่งจะจัดแข่งขันที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 17-26 พฤษภาคม
นายแพทย์อำนาจ อยู่สุข รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า แนวคิดในการแข่งขันครั้งนี้ มาจากการที่ในระดับมหาวิทยาลัยมีนักฟุตบอลฝีเท้าดีมากมาย จึงอยากจะจัดให้มีการแข่งขันเพื่อให้มีเวทีในการโชว์ฝีเท้า เพื่อก้าวไปสู่ระดับที่สูงขึ้นในอนาคต สำหรับรอบชิงชนะเลิศระดับประเทศ ที่จะจัดขึ้น ที่ จ.เชียงใหม่ จะมีความปลอดภัยแน่นอน เพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในเชียงใหม่ไม่มีผู้ติดเชื้อมาแล้ว 2 เดือน และในช่วงเดือนพฤษภาคม เชื่อว่าฝุ่นควันในจังหวัดน่าจะดีขึ้นมากแล้ว
ผศ.ชาญชัย สุขสุวรรณ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกีฬา มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า การแข่งขันครั้งนี้ถือเป็นการคิกออฟเท่านั้น และจะต้องมีการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญยังเป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยวเชิงกีฬา เพื่อช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวในจังหวัด ยืนยันว่าจะจัดการแข่งชันได้ประทับใจแน่นอน เชื่อว่าเราจะช่วยกันผ่านวิกฤติโควิด-19 ครั้งนี้ได้
การแข่งขันรอบภูมิภาค ดังนี้ เขตกรุงเทพมหานคร ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 26–30 มีนาคม / เขตภาคใต้ ม.ทักษิณ จ.สงขลา 3–7 เมษายน / ภาคเหนือ มรภ.กำแพงเพชร 5–9 เมษายน / ภาคกลาง มรภ.รำไพพรรณี จ.จันทบุรี 19–23 เมษายน / ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มรภ.มหาสารคาม 26–30 เมษายน
ผลการจับสลากแบ่งสาย ดังนี้
ภาคเหนือ กลุ่มเอ ม.แม่ฟ้าหลวง, มรภ.เชียงใหม่, มรภ.อุตรดิตถ์ / กลุ่มบี มรภ.นครสวรรค์, ว.นอร์ทเทิร์น, ม.นเรศวร / กลุ่มซี ม.พะเยา, ม.แม่โจ้, มรภ.กำแพงเพชร / กลุ่มดี มรภ.เพชรบูรณ์, มรภ.เชียงราย, มรภ.พิบูลสงครม
ภาคกลาง กลุ่มเอ ม.รังสิต, มทร.รัตนโกสินทร์, ม.บูรพา / กลุ่มบี มรภ.วไลยอลงกรณ์, มรภ.นครปฐม, สถาบันวิทยาการประกอบการแห่งอโยธยา / กลุ่มซี ม.กีฬาแห่งชาติ, มรภ.เพชรบุรี, มรภ.เทพสตรี, มรภ.รำไพพรรณี
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มเอ ม.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ว.นครราชสีมา, ม.มหาสารคาม / กลุ่มบี มรภ.นครราชสีมา, ม.เทคโนโลยีสุรนารี, ว.บัณฑิตเอเชีย / กลุ่มซี มรภ.สุรินทร์, ม.ขอนแก่น, มรภ.สกลนคร / กลุ่มดี มรภ.อุบลราชธานี, มรภ.ร้อยเอ็ด, มรภ.มหาสารคาม / กลุ่มอี มรภ.อุดรธานี, ว.พิชยบัณฑิต, มรภ.เลย
ภาคใต้ กลุ่มเอ ม.สงขลานครินทร์, มรภ.สงขลา, ม.นราธิวาสราชนครินทร์ / กลุ่มบี มรภ.ยะลา, มรภ.ภูเก็ต, ม.ฟาฏอนี / กลุ่มซี มรภ. موقع رهان كرة القدم สุราษฎร์ธานี, มรภ.นครศรีธรรมราช, ม.ทักษิณ
กรุงเทพมหานคร กลุ่มเอ ม.ศิลปากร, ม.เกษมบัณฑิต, ม.ธรรมศาสตร์ / กลุ่มบี มรภ.ธนบุรี, จุฬาฯ, ม. سباق الخيل مباشر เกษตรศาสตร์ / กลุ่มซี ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด, มรภ.จันทรเกษม, มทจ.ธนบุรี / กลุ่มดี สถานบันพระบรมราชชนก, มทร.พระนคร, มรภ.สวนสุนันทา / กลุ่มอี สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา, ม.นอร์ทกรุงเทพ, ม. شرح بلاك جاك กรุงเทพธนบุรี, มรภ.พระนคร