“ไทยลีก” ยันจัดแข่งขันต่อไม่มีเลื่อน ไม่หวั่นสถานการณ์ “โควิด-19

Photo of author

ไทยลีก และตัวแทนสโมสรสมาชิกในระดับไทยลีก 1 เปิดประชุมร่วมกันเพื่อหารือและสรุปข้อตกลงในเรื่องยืนยันการดำเนินการจัดแข่งขันต่อภายใต้สถานการณ์โควิด-19 เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา

โดยในที่ประชุมได้รับเกียรติจากคุณกรวีร์ ปริศนานันทกุล รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยลีก พร้อมด้วยตัวแทนสโมสรสมาชิกของรีโว่ ไทยลีก (ไทยลีก 1) เข้าหารือร่วมกันถึงแนวทางการจัดการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพ ภายใต้สถานการณ์โควิด-19

สาระสำคัญคือการหาข้อตกลงเรื่องของการจัดการแข่งขัน และปัญหาที่จะกระทบตามมาหากมีการเลื่อนการแข่งขันออกไปอย่างต่อเนื่อง โดยในหัวข้อการจัดการแข่งขันตามมาตรการฯ (SOP) ที่ประชุมมีมติร่วมกันดังนี้

บังคับใช้มาตรฐานการดำเนินการจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพ (SOP) และมาตรการพิเศษการขึ้นทะเบียนนักกีฬาทดแทน ในกรณีที่ทีมพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 อย่างเคร่งครัด โดยจะไม่มีการขอเลื่อนการแข่งขันอีกในทุกกรณี

กรณีพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในสโมสร ขอให้สโมสรปฏิบัติตามแนวทางที่ได้ระบุในมาตรฐานการดำเนินการจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพ (SOP) หัวข้อแนวทางการสนับสนุนด้านการแพทย์และการควบคุมโรคระบาด โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

1) มาตรการกรณีพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ภายในทีม
– ผู้ที่ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อโควิด-19 ให้แยกเข้ารับการรักษาตามมาตรการทางด้านสาธารณสุข
– นักกีฬาและเจ้าหน้าที่ทีมคนอื่นๆ ที่ลงทำการแข่งขัน และฝึกซ้อมภายในทีมเดียวกัน จะถูกพิจารณาว่าเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ให้ทำการตรวจหาเชื้อซ้ำอีกครั้ง และให้แยกกักตัวทันที จนกว่าจะมีผลการตรวจ RT-PCR ยืนยันว่าไม่มีการติดเชื้อ โดยสโมสรต้องดำเนินการตามแนวทางการตรวจซ้ำและการกักตัว กรณีเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง (High Risk Contact) ที่ระบุรายละเอียดในมาตรฐานการดาเนินการจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพ (SOP) ดังนี้
1. ให้ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงทำการตรวจหาเชื้อซ้ำอีกครั้ง หลังจากพบว่าในทีมมีผู้ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อโควิด-19 และตรวจซ้ำทุกๆ 3-5 วัน ในระหว่างกักตัว
2. ระหว่างที่รอผลตรวจเชื้อนั้น ให้ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงแยกกักตัวทันที โดยให้สโมสรดำเนินการ ดังนี้
2.1 ให้นักกีฬาหรือเจ้าหน้าที่ทีมแยกกักตัวที่บ้าน (Home Quarantine) ด้วยวิธีการตามที่สาธารณสุขรับรองอย่างเคร่งครัด หรือ
2.2 ให้สโมสรจัดหาสถานที่เพื่อให้นักกีฬาหรือเจ้าหน้าที่ทีมที่เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงกักตัว (Community Quarantine) ด้วยวิธีการตามที่สาธารณสุขรับรองอย่างเคร่งครัด
– กรณีที่ผลการตรวจเชื้อซ้ำยืนยันว่าไม่มีการติดเชื้อสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง สามารถทำการซ้อมร่วมกันในหมู่ผู้ที่กักตัวร่วมกัน และมีความเสี่ยงสูงได้ มิให้ทำการซ้อมร่วมกับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงแต่กักกันตัวที่บ้าน (Home Quarantine) หรือผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำหรือผู้ที่ไม่มีความเสี่ยง และให้มีการตรวจเชื้ออีกครั้ง ก่อนวันทำการแข่งขัน 1 วัน และต้องนำส่งผลการตรวจมายังฝ่ายจัดการแข่งขันเพื่อรับทราบ และจะต้องตรวจซ้ำอีกทุก ๆ 1 วันก่อนทำการแข่งขัน จนครบ 14 วัน นับจากผู้ป่วยยืนยันคนสุดท้ายในทีม
– กรณีที่ทีมพบนักกีฬาติดเชื้อโควิด-19 โดยมีใบรับรองแพทย์ หรือหลักฐานทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องยืนยันว่าติดเชื้อโควิด-19 และคงเหลือนักกีฬาที่ขึ้นทะเบียนในทีมไม่เกิน 15 คน ที่มีผลตรวจยืนยันว่าไม่ติดเชื้อโควิด-19 หรือ ได้รับคำสั่งให้กักตัว หรือให้งดการเดินทางจากหน่วยงานสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง ให้บังคับใช้มาตรการพิเศษการขึ้นทะเบียนนักกีฬาทดแทน ใน
– กรณีที่มีทีมพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 โดยทีมใดคงเหลือนักกีฬาทั้งทีมรวมกัน พร้อมลงทำการแข่งขันน้อยกว่า 11 คน ณ วันแข่งขัน โดยมีสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือสาเหตุอื่นใดก็ตาม ให้ปรับทีมนั้นเป็นแพ้
– กรณีที่ทีมได้รับหนังสือขอให้งดการจัดการแข่งขันในพื้นที่จากหน่วยงานสาธารณสุขหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้สโมสรทีมเหย้าหาสนามทดแทนเพื่อทำการแข่งขัน ในกรณีที่ไม่สามารถจัดหาสนามทดแทนได้ทันในวันแข่งขัน จะถือเป็นความบกพร่องของสโมสรทีมเหย้า และจะมีความผิดตามระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง

2) มาตรการพิเศษการขึ้นทะเบียนนักกีฬาทดแทน ในกรณีที่ทีมพบผู้ติดเชื้อโควิด-19

กรณีที่ทีมพบนักกีฬาติดเชื้อโควิด-19 โดยมีใบรับรองแพทย์ หรือหลักฐานทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องยืนยันว่าติดเชื้อโควิด-19 และคงเหลือนักกีฬาที่ขึ้นทะเบียนในทีมไม่เกิน 15 คน ที่มีผลตรวจยืนยันว่าไม่ติดเชื้อโควิด-19 หรือ ได้รับคำสั่งให้กักตัว หรือให้งดการเดินทางจากหน่วยงานสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง ให้บังคับใช้มาตรการพิเศษการขึ้นทะเบียนนักกีฬาทดแทน ในกรณีที่มีทีมพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 โดยทีมใดคงเหลือนักกีฬาทั้งทีมรวมกัน พร้อมลงทำการแข่งขันน้อยกว่า 11 คน ณ วันแข่งขัน โดยมีสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือสาเหตุอื่นใดก็ตาม ให้ปรับทีมนั้นเป็นแพ้ ทั้งนี้ รายละเอียดระบุในการบังคับใช้มาตรการพิเศษการขึ้นทะเบียนนักกีฬาทดแทน ในกรณีที่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19

มาตรการในกรณีกลับมาลงทำการแข่งขัน หลังจากติดเชื้อโควิด-19

เพื่อให้การแข่งขันฯ สามารถดำเนินไปได้อย่างเรียบร้อย และปลอดภัยกับทุกฝ่าย ขอให้สโมสรของท่านส่งใบรับรองแพทย์ หรือผลการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ RT-PCR สำหรับผู้เล่น และเจ้าหน้าที่ทีมซึ่งเคยติดเชื้อโควิด-19 ที่ต้องการกลับมาลงทำการแข่งขัน กรณี พบผล RT-PCR เป็นบวก ต้องมีใบรับรองแพทย์ หรือผลตรวจ ANTIBODY เพื่อยืนยันว่านักกีฬา หรือเจ้าหน้าที่คนดังกล่าวหายขาดจากอาการ และไม่สามารถแพร่เชื้อได้อีก โดยขอให้นำส่งใบรับรองแพทย์ หรือผลการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ RT-PCR มายังฝ่ายจัดการแข่งขัน ที่อีเมล [email protected] ก่อนวันทำการแข่งขันอย่างน้อย 1 วัน

อย่างไรก็ตาม ไทยลีก มีเจตนารมย์และความมุ่งมั่นที่จะเดินหน้าจัดการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพทุกระดับชั้นในสำเร็จลุล่วงในฤดูกาล 2564/65 และขอให้ทุกสโมสรปฏิบัติตามมาตรฐานการดำเนินการจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพ (SOP)

และมาตรการพิเศษการขึ้นทะเบียนนักกีฬาทดแทน ในกรณีที่ทีมพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ที่ตกลงไว้ร่วมกันอย่างเคร่งครัด เพื่อให้การทำการแข่งขันฟุตบอลลีกภายในประเทศสำเร็จลุล่วงร่วมกัน

#ThaiLeague