นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมเสริมสร้างการรับรู้ และส่งเสริมเศษฐกิจเมืองกีฬา (Sports City) ภายใต้แนวคิด “เมืองสร้างกีฬา กีฬาสร้างชีวิต” โดยมี ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) , นายชรินทร์ ทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา, คณะผู้บริหาร กกท., นักกีฬา, ผู้ฝึกสอน และประชาชนจังหวัดนครราชสีมา ร่วมงาน ณ โคราช ฮอลล์ 2 ชั้น 4 เซ็นทรัล โคราช เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า นโยบายภาพรวมด้านกีฬาในส่วนภูมิภาค เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนกีฬาในภาพรวมของประเทศทุกมิติ โดยไม่สนับสนุนส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นพิเศษ ทั้งนี้ ต้องอาศัยหน่วยงานโดยตรงด้านกีฬา และหน่วยงานอื่นๆ ที่จะเป็นห่วงโซ่ในการพัฒนาไปด้วยพร้อมกัน ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนในจังหวัดนครราชสีมาที่ได้รับการพิจารณาประกาศเป็นเมืองกีฬา ด้านกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ (Sports for Excellence) เนื่องจากความร่วมมือกันภายในจังหวัดโดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัด และหน่วยงานต่างๆ เห็นถึงความสำคัญ ของการพัฒนากีฬาเพื่อให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความสมบูรณ์ และสุขภาพที่แข็งแรง อีกทั้งมีความพร้อมด้านอาคารสถานที่ในการเล่นกีฬา ออกกำลังกาย ที่อยู่ในการดูแลของการกีฬาแห่งประเทศไทย รวมถึงสถานที่ดังกล่าวยังสามารถรองรับการจัดการแข่งขันในระดับชาติ และนานาชาติได้ เป็นการเพิ่มโอกาสของประชาชนได้ รับรู้ รับทราบ และได้ชมการแข่งขันกีฬา ที่มีความสนุกสนาน ตื่นเต้น สร้างแรงบันดาลใจในการเล่นกีฬา และออกกำลังกาย ให้เป็นเสมือนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ของตนเอง
ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) กล่าวว่า การพัฒนากีฬาในส่วนของภูมิภาค การกีฬาแห่งประเทศไทย ได้เน้นให้ความสำคัญมาก ซึ่งเล็งเห็นถึงนักกีฬาส่วนใหญ่ที่เติบโตมาจนถึงนักกีฬามืออาชีพ จะมาจากภูมิภาคเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะถ้านับจากกีฬาคนพิการ 80% จะเติบโตมาจากภูมิภาค การพัฒนาจึงไม่ใช่พัฒนาเฉพาะแค่ศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาในกรุงเทพมหานคร เท่านั้น การกีฬาแห่งประเทศไทย ได้มีแผนการกระจายศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาออกไปถึง 15 ศูนย์ในปัจจุบัน เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานที่เท่ากัน โดยมีการแบ่งแยกออกเป็น 5 ภาค ในการกำกับดูแลภาคที่สำคัญ และมีประชากรเยอะที่สุด คือภาคอีสาน โดยจังหวัดนครราชสีมา หรือโคราช ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ ในการพัฒนาศูนย์ให้มีมาตรฐานใกล้เคียงกรุงเทพมหานคร ทั้งในกีฬาคนทั่วไป และคนพิการ โดยมีแผนในปีหน้าจะมีการสร้างศูนย์ฝึกนักกีฬาคนพิการโดยเฉพาะที่ โคราช ซึ่งในปัจจุบันมีที่จังหวัดสุพรรณบุรี และโคราชจะเป็นอีกศูนย์ใหม่ที่มีความทันสมัยที่สุดร่วมกับการนำวิทยาศาสตร์การกีฬามาร่วมกับการพัฒนาร่วมด้วยเพื่อการพัฒนานักกีฬาที่มีคุณภาพสู่กีฬาอาชีพ ในส่วนของการจะเป็น Sports City หรือเมืองกีฬาได้นั้น จังหวัดจะต้องให้ความสำคัญกับประเด็นการพัฒนากีฬา ต้องมีแนวนโยบายการพัฒนากีฬา จังหวัดต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง คือการพัฒนาตั้งแต่เด็กเยาวชน ขึ้นมาจนถึงประชาชนทั่วไป แนวทางของโคราช ค่อนข้างชัดเจนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านกีฬาอย่างต่อเนื่องและมีการผลิตนักกีฬาไปจนถึงระดับโลก ถือเป็นการทำงานบูรณาการ ร่วมกันกับกีฬาในส่วนกลางส่วนท้องถิ่น และประชาชน
นายชรินทร์ ทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า การดำเนินงาน Sports City ภายในจังหวัด นครราชสีมา ในครั้งนี้นั้น ทางหน่วยงานต่างๆ ได้เห็นถึงความสำคัญ ของการพัฒนากีฬา และสุขภาพของประชาชนภายในจังหวัด อีกทั้งทั้งทางจังหวัดเองมีความพร้อมด้านอาคารสถานที่ในการเล่นกีฬา ออกกำลังกาย รวมถึงสถานที่ยังสามารถรองรับการจัดการแข่งขันในระดับชาติ และนานาชาติได้ เป็นการเพิ่มโอกาสให้ประชาชนได้รับชมการแข่งขันกีฬา ที่ได้มาตฐาน และสร้างแรงบันดาลใจในการเล่นกีฬา ออกกำลังกายรับทราบ และได้ชมการแข่งขันกีฬา ที่มีความสนุกสนาน และได้มาตรฐานสากล โดยมีกิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย มีการแสดงนิทรรศการ: โคราชเมืองกีฬา / ศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติ จ.นครราชสีมา / ศูนย์ฝึกกีฬาคนพิการคน พิการแห่งชาติ จ.นครราชสีมา,
ทั้งนี้ กิจกรรมเสริมสร้างการรับรู้ และส่งเสริมเศษฐกิจเมืองกีฬา (Sports City) ภายใต้แนวคิด “เมืองสร้างกีฬา กีฬาสร้างชีวิต จัดขึ้นเพื่อ ให้ประชาชนภายในจังหวัดเห็นถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพร่างกาย อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มโอกาสของประชาชนได้ รับรู้ บูธกิจกรรมเกมส์กีฬา: เตะบอลวัดพลัง / ยิงปืนแม่นเป้าดิจิทัล / หวดเทนนิสลุ้นคะแนน / ชู้ตบาสฯลุ้นรางวัล, การออกร้านจำหน่ายสินค้าส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนโคราช จำนวน 20 ร้าน, กิจกรรมให้กำลังใจนักกีฬาคนพิการสู้ศึกเอเชี่ยนพาราเกมส์: การเขียนข้อความ และบันทึกคลิปวีดิโอให้กำลังใจ นักกีฬาเอเชี่ยนพาราเกมส์